Thai-RASFS คืออะไร?

Thai Rapid Alert System for Food Safety (Thai-RASFS) หรือ ไทยราฟ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อการแจ้งเตือนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยในอาหารในประเทศไทย ระบบนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องเพื่อการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากภัยอาหารได้ เช่น สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ หรือ ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ เป็นต้น

ภารกิจหลักของ Thai-RASFS

เตือนภัย

ติดตาม

ประสานงาน

คุ้มครอง

แจ้งเตือนภัยสารพิษตกค้างในอาหารและให้ข้อมูล

เมื่อตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานในสินค้าเกษตรและอาหาร กระจายข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างรวดเร็วให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐ ร้านค้า และผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบโดยทั่วกัน

ติดตามการตอบสนอง

เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการทันทีเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายต่อผู้บริโภค โดยอัปเดตข้อมูลการปฏิบัติ/รับมือ บนเว็บไซต์ Thai-RASFS อย่างเป็นระบบ

ร่วมประสานงาน

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กร ร้านค้า ผู้บริโภค เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจแนวทางเดียวกันในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของอาหาร

การคุ้มครองผู้บริโภค

ปกป้องผู้บริโภคจากอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากผลิตผลอาหารที่มีสารเคมีเกษตรตกค้างหรือไม่ปลอดภัยจากการปนเปื้อน

การทำงานของ Thai-RASFS

เมื่อมีการตรวจพบปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาหาร เช่น การปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือการระบาดของโรค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำการรายงานเหตุการณ์เข้าสู่ระบบ Thai-RASFS ข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อให้กับหน่วยงาน องค์กร และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติการอย่างถูกต้อง ประสานงานกันในการแก้ไขปัญหา และป้องกันการแพร่กระจายของอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขของผู้บริโภค

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

หน่วยงานภาครัฐ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รับผิดชอบในการควบคุมมาตรฐานการผลิตของสินค้าทางการเกษตร เช่น พืชอาหาร เนื้อสัตว์ และประมง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q ของกระทรวง รวมถึงการกำกับปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัตถุอันตรายทางการเกษตร ยาสัตว์ เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุข

มีบทบาทในการกำกับ ตรวจสอบความปลอดภัยและควบคุมโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

โดยเฉพาะกองอาหาร และกองด่านอาหารและยา มีหน้าที่หลักในการควบคุมและกำกับดูแลความปลอดภัยของผักผลไม้สด อาหารแปรรูปทั้งที่นำเข้าและผลิตในประเทศ ณ แหล่งจำหน่าย โรงคัดบรรจุ และหน้าด่านนำเข้า

ภาคเอกชน

เกษตรกรและผู้ผลิตอาหาร

มีหน้าที่ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน

ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก

มีบทบาทในการคัดเลือกสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและกระจายอาหารไปยังผู้บริโภค

ห้องปฏิบัติการทดสอบ

ให้บริการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร

ผู้บริโภค

เป็นผู้เลือกซื้อและบริโภคอาหาร ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความปลอดภัยของอาหารและมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในอาหาร

เกษตรกรและผู้ผลิตอาหาร

มีหน้าที่ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน

ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก

มีบทบาทในการคัดเลือกสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและกระจายอาหารไปยังผู้บริโภค

ห้องปฏิบัติการทดสอบ

ให้บริการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร

ผู้บริโภค

เป็นผู้เลือกซื้อและบริโภคอาหาร ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความปลอดภัยของอาหารและมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในอาหาร

บทบาทของแต่ละฝ่าย

Thai-RASFS ช่วยให้ชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างไร?

ความปลอดภัยของอาหาร
ตรวจพบปัญหาได้เร็ว

เมื่อมีการตรวจพบปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อนของสารเคมี เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม ระบบ Thai-RASFS จะช่วยให้สามารถตรวจพบและแจ้งเตือนได้อย่างรวดเร็ว

ป้องกันการแพร่กระจาย

การแจ้งเตือนที่รวดเร็วช่วยป้องกันไม่ให้อาหารที่ไม่ปลอดภัยแพร่กระจายไปสู่ผู้บริโภคจำนวนมาก ลดความเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพ เช่น การเกิดโรคอาหารเป็นพิษ

เรียกคืนสินค้าได้ทันท่วงที

หากพบว่าผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ มีปัญหา ระบบ Thai-RASFS จะช่วยให้สามารถเรียกคืนสินค้ากลับมาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคบริโภคอาหารที่เป็นอันตราย

ความมั่นใจของผู้บริโภค
ข้อมูลที่ถูกต้องและอัปเดต

ระบบ Thai-RASFS ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารได้อย่างถูกต้องและทันเวลา

ตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ

ด้วยข้อมูลที่ได้รับ ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้ออาหารได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

เพิ่มความไว้วางใจในระบบอาหาร

การมีระบบ Thai-RASFS ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร

การส่งเสริมการค้า
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า

ระบบ Thai-RASFS ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารได้อย่างถูกต้องและทันเวลาผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการตรวจสอบและรายงานความปลอดภัยภายใต้ระบบ Thai-RASFS จะได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคในตลาดโลกมากขึ้น

เปิดโอกาสทางการค้า

การมีระบบ Thai-RASFS ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ประเทศสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น

พันธมิตร

เราจับมือทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

สภาองค์กรของผู้บริโภค

มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก